วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่15

  สรุปการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย



   การเรียนในรายวิชานี้ทำให้ดิฉันได้รับความรู้และเทคนิคต่างมากมานเช่น
-การใช้ชีวิตประจำวันมาสอดคล้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลาเรื่องการจ่ายตลาด เรื่องขนาดต่างๆ เป็นต้น
-การใช้สื่อต่างๆมาสอดแทรกกับการเรียนการสอนในเรื่อวคณิตศาสตร์ เช่นนำเพลงมาสอดแทรกกับเรื่องที่กำลังสอน หรือนำสื่อต่างๆมาสอดแทรกกับการเรียนการสอนต่างๆ
-การใช้มายแมปปิ้งในการทำงาน เรื่องผลไม้ เรื่องสัตว์ 
-วิธีการทำบล็อค
-ได้รู้วิธีการเขียนแผนอย่างถูกวิธี
-ได้รู้เทคนิคในการสอนการนับตัวเลขให้เด็กอย่างไรถึงถูกวิธี
-ได้ทำงานร่วมกับเพื่อน ได้ช่วยกันระดมความคิดในรายกลุ่ม
-ยังได้คำแนะนำเพื่อไปแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น และคณิตศาตร์ยังสามารถบูรณาการในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนแบบอื่นอีกมากมาย เช่น การจัดประสบการณ์แบบโครงการ,สตอรี่ไลน์(เดินเรื่อง),STAM,มอนเตอสรี่ฯลฯ 
-ได้นำสิ่งที่เรียนรู้ในรายวิชานี้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้อย่างถูกวิธี

การบันทึกอนุทินครั้งที่14 วัน พุธ ที่ 1 พฤษภาคม 2558

เนื้อหาที่เรียน
  -อาจารย์ได้ทบทวนเนื้อหาที่เรียนทั้งภาคเรียนที่2 ดังนี้ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ปฐมวัยจะบูรณาการ
            1.ภาษา,สุขศึกษา,สังคม,ศาสนา,คุณธรรมจริยธรรม,วิทยาศาสตร์,พลศึกษา,ดนตรี ฯลฯ
            2.พัฒนาการทั้ง 4ด้าน คือด้านร่างกาย,ด้านอามรณ์-จิตใจ,ด้านสังคม,ด้านสติปัญญา
            3.บูรณาการกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม คือกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ,กิจกรรมเสริมประสบการณ์,กิจกรรมเสรี,กิจกรรมกลางแจ้ง,กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์,เกมการศึกษา
         -ผู้ปกครองจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมคณิตศาสตร์อย่างไร?(ความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน)
               1.นับจำนวนการจ่ายตังค์ในตลาดร่วมกับผู้ปกครอง
               2.นั่งรถไปเที่ยวให้บวกเลขป้ายทะเบียน/อ่านเลขป้ายทะเบียน
               3.การทำอาหารความยาว-ความสั้นของการเด็ดผัก
               4.การนับชิ้นสิ่งของร่วมกับผู้ปกครองที่บ้าน
               5.การให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดโต๊ะรับประทานอาหารโดยให้เด็กหยิบจาน,ช้อน,แก้ว ตามจำนวนคนในบ้าน (ให้หยิบของใช้มาเป็นชุด)
-ทบทวนความรู้เกมการศึกษา
                - เกมการศึกษา คืออะไร?  เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น มีกระบวนการในการเล่นจากสื่อตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัย 3-5ขวบ เช่น เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ วางภาพต่อปลาย ภาพตัดต่อ เป็นต้น
                - ประเภทของเกมการศึกษามีดังนี้
               เกมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา  จับคู่ภาพที่ช่อนอยู่ในภาพหลัก 
               เกมภาพตัดต่อ เช่น ต่อภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน เช่น ต่อภาพปลา เมื่อเรียนหน่วยปลา ต่อภาพผลไม้ เมื่อเรียนหน่วยผลไม้ เป็นต้น
               เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
               เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต 
               เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์
               เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด
               เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
               เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)
               เกมพื้นฐานการบวก


วิธีการสอน

  • มีการทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

ทักษะที่ได้รับ

  • ได้ทักษะการนำสื่อมาใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอน 

การประยุกต์ใช้

  •     เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน

  • เพื่อนๆให้ความร่วมมือกันดีมากค่ะ

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนหลากหลาย
  • เข้าสอนตรงเวลา

การบันทึกอนุทินครั้งที่13 วัน พุธ ที่ 27 เมษายน 2558

เนื้อหาที่เรียน
( ชดเชยตารางเรียนของวันพุธ  ที่ 4 เดือนมีนาคม  2558 )
          - อาจารย์ให้ทำแบบประเมิน โดยให้เวลา 3 ชั่วโมง โดยให้ส่งทันในกำหนดตอนเที่ยง โดยให้หาห้องว่างทำ
1.พัฒนาการหมายถึงอะไร?
2.การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร?
3.หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร?
4.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร?
5.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร?
6.การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร?
7.สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์แต่ละสาระ
8.ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง?
9.ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์?
10.ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่งของครู
11.ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12.ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง
13.จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง

การบันทึกอนุทินครั้งที่12 วัน พุธ ที่ 22 เมษายน 2558

เนื่อหาที่เรียน


 -  อาจารย์ให้ขนมมา 1 กระปุก และให้ตัวแทน 1 คน จัดขนมที่อยู่ในกระปุกโดยการแบ่งขนมเป็นกองกองละ 10 ให้ได้ 3 กอง กองที่ 4 จะมีเพียง 2 ชิ้น
  -  ทำอย่างไรให้จับคู่หรือแบ่งกลุ่ม(โดยเด็กส่งขนมไปเรื่อยๆน้อยลงเรื่อยๆ โดยให้หยิบกับตัวเองโดยใช้ถาดในการหยิบ เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้ค่ามากกว่า/น้อยกว่า

  -  สอบสอนโดยให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนตามที่ได้รับมอบหมายเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว โดยอาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนเพื่อให้เข้าใจในแผนการสอน


วิธีการสอน

  • มีการทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

ทักษะที่ได้รับ

  • ได้ทักษะการนำสื่อมาใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอน 

การประยุกต์ใช้

  •     เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน

  • เพื่อนๆให้ความร่วมมือกันดีมากค่ะ
  • ไม่มีห้องเรียนค่ะเลยต้องมาเรียนใต้ตึก

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนหลากหลาย
  • เข้าสอนตรงเวลา

การบันทึกอนุทินครั้งที่11 วัน พุธ ที่ 8 เมษายน 2558

เนื้อหาที่เรียน
  -  อาจารย์สอนวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ โดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้นักศึกษาร่วมกันปรึกษาหาหัวข้อที่จะเขียนแผน ให้กำหนดเนื้อหาที่จะเรียนตามที่สนใจ
 - อาจารย์นำรูปสัตว์มาและให้เด็กนับขาของสัตว์ว่ามีกี่ชาและนำขาของสัคว์มารวมกันได้กี่ขา
    เช่น ครูเขียนคำบนกระดาน  ม้าลาย 2 ตัว 
                                                นก       3 ตัว
                                                เป็ด      2 ตัว
           ให้รวมขาของสัตว์ทั้งหมดมีกี่ขา

วิธีการสอน

  • มีการทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

ทักษะที่ได้รับ

  • ได้ทักษะการนำสื่อมาใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอน 
  • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้

  •     เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน

  • เพื่อนๆให้ความร่วมมือกันดีมากค่ะ
  • แอร์หนาวเย็น

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนหลากหลาย
  • เข้าสอนตรงเวลา

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่10 วัน พุธ ที่ 25 มีนาคม 2558

เนื้อหาที่เรียน

 -ทำกิจกรรมไม้กับดินน้ำมัน ให้ต่อไม้แล้วนำดินน้ำมันมาเชื่อมให้เป็นรูปทรงต่างๆเช่น
       1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
       2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
       3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ เช่นบ้าน
       4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสามเหลี่ยม
       5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสี่เหลี่ยม
       6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรง

-นำเสนอ เก็บตก  เลขที่ที่ยังไม่ได้นำเสนออกมานำเสนอ เพื่อนรายงานรูปแบบการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย

-นำเสนอสื่อการเรียนรู้
       นิทาน คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ตามสาระคณิตศาสตร์ที่ได้รับมอบหมาย

วิธีการสอน

  • มีการทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

ทักษะที่ได้รับ

  • ได้ทักฝาะการนำสื่อมาใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอน 
  • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำสื่อต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอนของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน

  • เพื่อนๆให้ความร่วมมือกันดีมากค่ะ
  • แอร์หนาวเย็น

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนหลากหลาย
  • เข้าสอนตรงเวลา

การบันทึกอนุทินครั้งที่9 วัน พุธ ที่ 18 มีนาคม 2558

เนื้อหา
       
           - นำเสนอวิจัย

                   เลขที่ 22

           - นำเสนอบทความ
                   เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
                   เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "
       
          - นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
                   เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
                   เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ

** หมายเหตุ** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวับ



วิธีการสอน-  ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-  เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
-  ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย



ทักษะ
-  ทักษะในการคิดวิเคราะห์
-  ทักษะในการพูดนำเสนองาน
-  ทักษะในการตอบคำถาม



การนำไปประยุกต์ใช้
            นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย


บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน บรรยากาศในห้องค่อนข้างเงียบ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน นำเสนองานติดขัดบ้าง ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง



ประเมินเพื่อน 
        เพื่อนมาเรียนน้อย บรรยากาศในการเรียนการสอนจึงเป็นไปด้วยความเงียบ ส่วนเพื่อนที่มาเรียนก็ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี



ประเมินอาจารย์
          มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดเสริมแรงให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ
 
*เนื่องจากวันนี้ไปทำกิจกรรมกีฬาสีมหาวิทยาลัย เป็ยเชียร์หลีดเดอร์ของคณะศึกษาศาสตร์ จึงไม่ได้มาเรียนค่ะ

การบันทึกอนุทินครั้งที่8 วัน พุธ ที่ 11 มีนาคม 2558


เนื้อหาที่เรียน


เพื่อนนำเสนอบทความ

  • เลขทึ่ 21 การสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว

ทบทวนความรู้สาระและมาตรฐานในการเรียนรู้

  • สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  • สาระที่ 2 การวัด
  • สาระที่ 3 เรขาคณิต
  • สาระที่ 4 พีชคณิต
  • สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

  • จุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาความรู้
  • ความสำคัญ
  • วิธีการจัดการเรียนการสอน จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
         1.วางแผนและเริ่มโครงการ
         2.พัฒนาโครงการ
         3.สรุปและอภิปรายโครงการ
  • ลักษณะรูปแบบการสอนโครงการ
         1.อภิปราย
         2.นำเสนอประสบการณ์เดิม
         3.การทำงานภาคสนาม
         4.การสืบค้น และตั้งคำถาม
         5.การจัดแสดงนิทรรศการ

ฝึกร้องเพลง และแปลงเนื้อเพลง


เพลงบวก-ลบ

บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ   ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ


แปลงเนื้อเพลง

บ้านฉันมีแก้วน้ำสามใบ  พี่ให้อีกห้าใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้แปดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำแปดใบ  หายไปห้าใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สามใบ


เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา  ม้ามีสี่ขา
คนเรานัั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ช้างม้ามี  สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)


แปลงเนื้อเพลง

ความยมีสี่ขา  กวางมีสี่ขา
เจ้านกนัั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ความกวางมี  สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับนกนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)


เพลงขวดห้าใบ

ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวด 1 ใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง


เพลงจับปู

จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6  7  8  9  10      
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ



วิธีการสอน

  • ทบทวนความรู้เดิม
  • มีการทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

ทักษะที่ได้รับ

  • ได้ทักษะการร้องเพลง แปลงเพลง ได้รู้เพลงใหม่ๆ มากขึ้น
  • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้จากการแปลงเพลงไปใช้ในการสอน ให้เหมาะกับเนื้อหาที่เด็กเรียน

บรรยากาศในห้องเรียน


  • เพื่อนๆ ไม่มีความพร้อมในการเรียน
  • อุปกรณ์ สื่อคอมพิวเตอร์ไม่ค่อยดี
  • แอร์หนาวเย็น

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนหลากหลาย
  • เข้าสอนตรงเวลา
*เนื่องจากสัปดาห์นี้ ป่วย จึงไม่ได้มาเรียนค่ะ

การบันทึกอนุทินครั้งที่7 วัน พุธ ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558

เนื้อหาที่เรียน

-สอนเรื่องเวลา ให้นักเรียนออกไปเขียนชื่อ วาดรูปนาฬิกาตามเวลาที่นักเรียนมาโรงเรียน เพื่อสอนให้เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

-ทบทวนบทเพลง เข้าแถว สวัสดียามเช้า ซ้ายขวา จัดแถว หนึ่งปีมีสิบสองเดือน นกกระจิบ นับนิ้วมือ เป็นต้น

-ทดสอบก่อนเรียน
 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง

-เลขที่ 17 นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง ใช้ลูกเต๋าเป็นสื่อ

-ทบทวนสาระและมาตรฐานการเรียนรู้

-รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
    หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถโดยเชื่อมโยงเนื้อห่ สาระของศาสตร์ต่างๆ
    ความสำคัญ
1.ในชีวิตประจำวันสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ต่างๆผสมผสานกันทำให้ผู้ที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยวๆ มาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้
2.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการทำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนประสบการณ์
3.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อน
4.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถในหลายๆด้านช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ แบบพหุปัญญา
5.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียนที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน
การนำไปใช้ 
  เด็กต้องควรอยากรู้อะไร
  เด็กต้องควรอยากทำอะไร
สาระที่ควรรู้
เนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก บุลคล สถานที่ ธรรมชาติ สิ่งต่างๆ ประสบการณ์ทั้ง 4 ด้าน กายวาจาใจ สังคม อารมณ์ สติปัญญา

ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการนำเสนอบทความ
-ทักษะการคิดท่าทางประกอบเพลง
-ทักษะการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้เรื่องในชีวิตประจำวัน

วิธีการสอน
-ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อวัดความรู้ก่อนเข้าเรียน
-ทบทวนบทเรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อเตือนความจำของเด็ก
-เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด

การประยุกต์ใช้
-นำการสอนที่ใช้ในชีวิตประจำวันไปสอนเด็กได้
-นำเพลงไปร้องให้เด็กฟังได้

บรรยากาศในการเรียน
-แอร์เย็น
-ห้องเรียนอบอุ่น
-เพื่อนๆให้ความร่วมมือมาก
-สนุกสนาน

ประเมินผลอาจารย์ผู้สอน
 -สอนสนุก
 -เสียงดัง ฟังชัด
 -ใช้เทคนิคหลายอย่างในการสอน



วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่6 วัน พุธ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558

เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมสถานที่ท่องเที่ยวในวันวาเลนไทน์

  •      ผลจากการทำกิจกรรมจะทำให้เด็กเรียนรู้ในเรื่อง 1.จำนวน 2.การนับ ได้เทคนิคการสอนเด็กไม่่วาจะสอนอะไรสามารถนำคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องได้ เป็นการสอนในเชิงปฏิบัติ
ทดสอบก่อนเรียน
  •  เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์มีอะไรบ้างและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง
เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • นิทาน
  • เพลง
  • เกม
  • คำคล้องจอง
  • ปริศนาคำทาย
  • บทบาทสมมุติ
  • แผนภูมิ
  • ประกอบอาหาร
เพื่อนนำเสนอวิจัย
  • เลขที่ 13 การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  •      การสร้างหนังสือภาพ ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนาน,ได้รับประสบการณ์ตรง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
  •      ผลการวิจัย ทำให้เกิดผลการเรียนที่ดีมากขึ้น จากคะแนนเฉลี่ยที่ตั้งไว้ 60%
  • เลขที่ 14 การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการการละเล่นพื้นบ้าน
  •      การเล่นคำทาย,การเป่ากบ,กาฟักไข่,รีรีข้าวสาร เป็นต้น
  • ฝึกให้เด็กรู้จักการนับ การคิด รู้จักการรอคอย มีไหว คิดอย่างเป็นระบบ

ร้องเพลงนับนิ้วมือ
   
นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายก็มีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ 1 2 3 4 5 นับต่อมา 6 7 8 9 10
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับ 1 ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ

แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
  • แบ่งกลุ่มตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม จำนวน 3 สี สีละ 10 อัน
  • ให้นักศึกษาต่อเป็นรูปภาพโดยเริ่มจากสี่เหลี่ยม 1 รูป ไปจนถึงสี่เหลี่ยม 5 รูป

วิธีการสอน
  • มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียน
  • มีการทบวนความรู้เดิมที่เรียนในสัปดาห์ที่แล้ว
  • ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการสอน
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ระดมความคิดตอบคำถาม
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับประสบการณ์ตรงจากกิจกรรมที่เราได้ทำ
  • ได้รับทักษะทางสังคมจากการทำงานเป็นกลุ่ม
  • ได้รับทักษะในการคิดและตอบคำถาม
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให็กับเด็กในเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยวิธีการที่หลากหลาย
บรรยากาศในการสอน
  • โดยรวมเพื่อนมีความตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี
  • เพื่อนบางคนไม่มีความพร้อมในการเรียน
  • อุณหภูมิให้ห้องเย็นจนเกินไป ทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำก่อนเค้าเรียนทุกคาบ สอนนักศึกษาโดยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริง
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และ ตอบคำถาม
*เนื่องจากสัปดาห์นี้ป่วยจึงไม่ได้มาเรียนค่ะ

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่5 วัน พุธ ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558

เนื้อหาการเรียน
  -ให้นักศึกษานำป้ายชื่อที่ทำไว้สัปดาห์ที่แล้วมาติดบนกระดานช่องนักเรียนที่มาและไม่มาโรงเรียน และเทคนิคในการสอนเด็กในด้านการบวกลบเลข  เพราะคณิตศาสตร์จะเรียนรู้ได้ในชีวิตประจำวัน               การสอนแแบนี้เรียกว่าการสอนแบบ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
  
แบบทดสอบก่อนเรียน
 -มาตรฐานคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร
 -สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
 -สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั่นเรียนทำได้อย่างไรบ้าง

เพื่อนนำเสนอบทความ
 -เลขที่ 10เรื่องแม็ดเมติดของเด็กวัยซน

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
-รู้ในสิ่งที่เป็นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
-1.จำนวนและการดำเนินการ
 2.การวัด
 3.เรขาคณิต
 4.พีชคณืต
 5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
-มีทักษะ
-มีความรู้

1.ทีความคิดเชิงคณิตศาสตร์(Mathematical Thinking)
-จำนวนนับ
-เข้าใจหลักการนับ

2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาวน้ำหนักปริมาณเงินและเวลา
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
-รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา

3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ

4.ความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี่ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
-เช่น ต่ำ ต่่ำ สูง ต่ำ ต่ำ สูง ........................

5.มีส่วนร่ามในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรุปแบบแผนภูมิ

6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

สาระมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
1.จำนวนและการดำเนินการ
-มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลาย
-จำนวน
    -การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม
   -ความหมายของรวม การแยก

2.การวัด
-มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานการวัด
-ความยาว น้ำหนักและปริมาณ
-เงิน
-เวลา

3.เรขาคณิต
-มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทาง ระยะทาง
-มาตรฐาน ค.ป.3.2 รูปจักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตมราเกิดจากการจัดกระทำ

4.พีชคณิต
-มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจความสัมพันธ์ของแบดเทิน 
-แบบรูปและความสัมพันธ์

5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-การเก็บข้อมูล

6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
-การแก้ปัญหา  การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ การนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ

นอกจากนี้ยังสอนร้องเพลงประกอบกับท่าทาง

เพลง  จัดแถว
สองมือเราชูตรง
แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า
แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง  ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง
ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน
หันตัวไปทางนั้นแหละ

ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการนำเสนอบทความ
-ทักษะการคิดท่าทางประกอบเพลง
-ทักษะการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้เรื่องในชีวิตประจำวัน

วิธีการสอน
-ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อวัดความรู้ก่อนเข้าเรียน
-นำเพลงมาสอดแทรกกับเรื่องที่กำลังเรียน
-เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด

การประยุกต์ใช้
-นำการสอนที่ใช้ในชีวิตประจำวันไปสอนเด็กได้
-นำเพลงไปร้องให้เด็กฟังได้

บรรยากาศในการเรียน
-แอร์เย็น
-ห้องเรียนอบอุ่น
-เพื่อนๆให้ความร่วมมือมาก
-สนุกสนาน

ประเมินผลอาจารย์ผู้สอน
 -สอนสนุก
 -เสียงดัง ฟังชัด
 -ใช้เทคนิคหลายอย่างในการสอน



วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่4 วัน พุธ ที่ 28 มกราคม 2558

เนื้อหาการเรียน

-ให้นักศึกษาทำป้ายชื่อและนำไปแปะบนกระดานว่าใครมาก่อนแปดโมงเช้าและใครมาหลังแปดโมงเช้า โดยบอกทักษะในการสอนเด็กว่าต้องทำแบบไหน เช่น ขีดเส้นตรงและเขียนบนหัวเส้นว่า 8.00 และให้เด็กนำชื่อมาติดไว้หน้าเส้นและหลังเส้น

 ทดสอบก่อนเรียน
-ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางตณิตศาสตร์
-จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-หลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย

เพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครู
เลขที่ 7 เรื่องของเล่นและของใช้
เลขที่ 8 เรื่องผลไม้แสนสนุก
เลขที่ 9 เรื่องการบูรณาการสู่การพร้อมในการเรียน

โจทย์คืออะไร - คำถามคือโจทย์

-ทบทวนพัฒนาการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่นการรู้จักคำศัพท์
-พัฒนามโนภาพ เช่น การบวก การลบ
-เพื่อให้เด็กรู้จักฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐาน
1.การสังเกต (Observation)
 -ใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ในการเรียนรู้
2.การจำแนกประเภท (Classifying)
-การแบ่งประเภทสิ่งของโดยกาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่ง ขึ้น
3.การเปรียบเทียบ(Comparing)
-เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
4.การจัดลำดับ(Ordering)
-เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
5.การวัด(Measverment)
-มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
6.การนับ(Counting)
-การนับแบบท่องจำนี้จะสามารถเอาไปเชื่อมโยงกับจุดประสงค์อื่นได้
7.รูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
-เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน

คำศัพท์เกียวกับคณิตศาสตร์
ตัวเลข-น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
อุณหภูมิ-เย็น ร้อน อุ่น เดือด
ความเร็ว-เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน

สอนร้องเพลงคิดท่าทางประกอบเพลงสวัสดียามเช้า  เพลงหนุ่งปีมีสิปสองเดือน  เพลงเข้าแถว  พร้อมบอกเทคนิคการร้องเพลงให้กับเด็ก

ทักษะที่ได้รับ
-การนำเหตุการณในชีวิตประจำวันมาเป็นตัวเลขเพื่อสอดคล้องกับคณิตศาสตร์
-เทคนิคการร้องเพลง

วิธีการสอน
-ให้เพื่อนออกไปเขียนเลขบนกระดานและให้เพื่อนท้ายว่าเลขที่เพื่อนเขียนตรงกับอะไร
-ทำแบบทกสอบก่อนเรียนเพื่อดูความรู้ของนักศึกษาก่อนเข้าเรียน
-สอนร้องเพลงพร้อมคิดท่าทางประกอบเพลง ที่สอดคล้องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ประยุกต์ใช้
-สามารถนำเพลงไปใช้กับเด็กพร้องท่าทางประกอบได้
-นำกิจกรรมในห้องเรียนไป ใช้กับเด็กได้ เช่นกิจกรรม ทำป้ายชื่อและให้เด็กไปแปะชื่อบนกระดานว่าใครมาก่อนหรือหลังแปดโมงเช้า

บรรยากาศในห้องเรียน
-สนุก
-ง่วงเล็กน้อย
-เพื่อนๆให้ความร่วมมือดีมาก

ประเมินผลอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์หาเทคนิคมาสอนได้ดี
-สนุก
-อาจารย์เต็มที่กับการสอนมาก
                                                   

สรุปโทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครูเรื่องไข่ดีมีประโยชน์

สรุปโทรทัศน์ครู เรื่องไข่ดีมีประโยชน์
    โดย คุณครูรจนา สังวรสินธุ์ รร.วัดไทรใหญ่ (นนททิวากรราษฎร์บำรุง)
           เป็นการจัดกิจกรรมบูรณาการทักษะวิชาพื้นฐานต่างๆเข้าด้วยกันได้ดี ตั้งแต่ฝึกให้เด็กได้พัฒนาการทางภาษาจากการสนทนาซักถามและการเล่านิทาน ต่อมาคุณครูได้เสริมทักษะวิทยาศาสตร์โดยให้เด็กได้สังเกต ไข่ที่มีสีและขนาดต่างๆกันและคุณครูยังส่งเสริมกระบวนการคิดโดยให้เด็กดูรูปภาพแล้วให้เด็กตอบเพื่อทบทวนความรู้เดิมที่เด็กมี เด็กที่เรียนในกิจกรรมนี้ได้มีทักษะคณิตศาสตร์ในการนับจำนวน สังเกต จำแนกความเหมือนความแตกต่าง และได้เปรียบเทียบขนาดและรู้จักว่าไข่ในตะกร้าใบไหนมาก ไข่ในตะกร้าใบไหนมีจำนวนน้อย และขณะเด็กร่วมทำกิจกรรมคุณครูยังส่งเสริมเด็กด้วยการให้คำชมเชยและชวนให้เด็กปรบมือให้กับเด็กที่ออกมาแยกไข่ใส่ตะกร้า การสอนแแบบนี้เป็นการสอนที่ส่งเสริมความกล้าแสดงออกและเพิ่มความมั่นใจให้กับเด็ก เด็กจะเกิดความกล้าในการเข้าร่วมกิจกรรม กล้าคิด กล้าพูด กล้าตอบ โดยไม่รู้สึกเขินอาย และการสอนของคุณครูยังทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเช่นในการชิมรสชาติของไข่เค็ม เด็กได้เห็นลักษณะของไข่เยี่ยวม้า และไข่เค็มที่คุณครูผ่าให้เด็กดู เด็กได้ลงมือตอกไข่และทำไข่หวานด้วยตัวเองทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งเด็กอาจจะไม่เคยได้ทำมาก่อนจากที่บ้าน เด็กก็จะเกิดความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเองและอาจเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับในการร่วมกิจกรรมนี้ไปสู่ที่บ้านได้ไม่ยาก

การนำไปประยุกย์ใช้
       สามารถนำการสอนแบบนี้ไปใช้กับเด็กได้โดย ให้เด็กเห็นภาพจริงและได้ลงมือกระทำ ได้เห็นลักษณะ ได้รู้จักนับจำนวน 



วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่3 วัน พุธ ที่ 21 มกราคม 2558

เนื้อหาการเรียน

 บททดสอบก่อนเรียน
 -ความหมายและประโยชน์ของการพัฒนาคืออะไร
 -พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
 -พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มัลักษณะอย่างไร
 -เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร

เพื่อนนำเสนองานวิจัย
 เลขที่ 4 เรื่องการสร้างชุดทักษะสำหรับเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 เลขที่่ 5 เรื่องการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
 เลขที่ 6 เรื่องการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์โดยผ่านการเล่น

ภาษาทางคณิตศาสตร์
 - เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการ
 -เป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
 -ประโยชน์ทำให้รู้ความสามารถของเด็ก

การเรียนรู้
 -การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

เพียเจต์        - เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
บรูเนอร์        - เด็กจะสร้างขึ้นมาแทนของจริง และออกมาเป็นรูปธรรม
ไวกอตซกี้    - ความสามารถของเด็กจะเกิดขึ้นได้ดีต้องเกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

สติปัญญากับสมองสัมพันธ์- การทำงานของสมองคือพัฒนาการที่เป็นลำดับขั้นตอน ก็คือตัวพัฒนาการนั้นเอง

เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้ -ลงมือกระทำกับวัตถุ
                            ประโยชน์ - จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้

หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
-จัดเป็นรูปธรรม
-ใช้สื่อที่น่าสนใจ
-เด็กมีส่วนร่วม
-ใช้เวลาไม่นาน

ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการนำเสนอวิจัย
 -การกล้าแสดงออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
 -การนำเพลงมาแปลงให้เข้ากับสถานการณ์ในตอนนั้นได้
 -การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

วิธีการสอน
 -นำเพลงมาสอดแทรกกับเรื่องที่เรียนเพื่อให้นักศึกษาได้คิดและปรับเปลี่ยนเพลง
 -สอดแทรกกับนักศึกษาในขณะที่นักศึกษานำเสนอวิจัยเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
 -เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด

การประยุกต์ใช้
 -นำเทคนิคการแปลงเพลงไปใช้กับเด็ก
 -การสรุปวิจัยให้สั้นและได้ใจความ

บรรยากาศในการเรียน
 -สนุก
-แอร์เย็น
 -ไม่น่าเบื่อ
 -เพื่อนมาเรียนเยอะทำให้อบอุ่น

ประเมินผลอาจารย์ผู้สอน
 -สอนสนุก
 -เสียงดัง ฟังชัด
 -ใช้เทคนิคหลายอย่างในการสอน



วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

วิจัยเรื่องพัฒนาทักษาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

   สรุปวิจัยเรื่อง พัฒนาการพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้ทำวิจัย คมขวัญ ออนบึงพราว

บทนำ
การพัฒนาเด็กต้องครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา คณิตศาสตร์นับเป็น ความสามารถทางสติปัญญา และเป็นทักษะด้านหนึ่งทึ่ ควรส่งเสรมและจ ิ ัดประสบการณใหกับเด็ก เนื่องจากคณิตศาสตรเปนวชาท ิ ี่มีความเกยวข ี่ องกับการดํารงชีวิตประจําวัน

จุดมุ่งหมายของวิจัย    
เพื่อเปรียบเทยบท ี ักษะพื้นฐานทางคณตศาสตร ิ ของเด  ็กปฐมวยกั อนและหลังไดรบการจ ั ัด กิจกรรมศิลปะสรางสรรคเพื่อการเรียนรู

ขอบเขตการวิจัย
ตัวแปรที่ศึกษา 1. ตัวแปรอิสระ ไดแก รูปแบบกิจกรรมศิลปะสรางสรรคเพ ื่อการเรียนรู
                         2. ตัวแปรตาม ไดแก ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร 5 ดาน ดังนี้
 2.1. การบอกตําแหนง
 2.2. การจําแนก
 2.3. การนับปากเปลา 1 – 30
 2.4. การรูคารูจํานวน 1 –20
 2.5. การเพิ่ม – ลด ภายในจํานวน 1 – 10

กลุ่มเป้าหมาย
หมายถึง เด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหวาง 5 – 6 ปทีกําลัง ศึกษาอยูในชนอน ั้ ุบาลปท 3 ี่ ภาคเรียนที่ 2 ปการศกษา ึ 2549 โรงเรียนสาธตอน ิ ุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสต

วิธีการดำเนินการวิจัย
 1. การกําหนดประชากรและการสุมกลุมตัวอยาง 2. การสรางเครื่องมือที่ใชในการวิจัย 3. การเก็บรวบรวมขอมลู 4. การจัดกระทําและการวิเคราะหขอมูล

สรุปผลการวิจัย
คณิตศาสตรเปนส ิ่งสําคัญที่เกี่ยวของกับชวีิตประจําวันของมนุษยเปนเครื่องมือ ในการเรียนรศาสตร ู อื่นๆ การไดรับประสบการณทางคณิตศาสตรทําใหผูเรียนมีความสามารถใน การคิดอยางมีเหตุมีผลและใชในการแกปญหาตางๆไดอยางดี ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรจึงเปน สิ่งที่มีความสาคํ ัญอยางยิ่งเพื่อเปนพื้นฐานในการเรียนรูตอไป





การบันทึกอนุทินครั้งที่2 วัน พุธ ที่ 14 มกราคม 2558

เนื้อหาการเรียน
  
ความหมายของคณิตศาสตร์
            วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำรา  เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ  เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็นสถานปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อนสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการปรกอบกิจกรรมนั้น ๆ


ความสำคัญของคณิตศาสตร์

  1.  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด  เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไม่  หรือเกือบจะเป็นจริง  ด้วยวิธีการคิดจะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์  อุตสาหกรรมและอื่น ๆ คณิตศาสตร์ทำให้คนที่รักวิชานี้ กลายเป็นคนอยากรู้อยากเห็น
                            2.  คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม  สัญลักษณ์ที่รัดกุม  สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด  เช่น  อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด  สมการ  3+5  =  8 ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน  คือใช้แทนความคิด เรา ไม่ต้องคิดมากว่าจะอ่านอย่างไร พอเห็นเราก็ทราบ ยิ่งไปกว่านั้น  เราใช้อักษรแสดงความหมายแทนความคิดนี้ (ideograms)  เป็นเครื่องมือที่จะใช้ฝึกทางสมอง ซึ่งสามารถช่วยเราให้เกิดการกระทำในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา การพิสูจน์ที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งถ้าเราใช้ภาษาธรรมดาก็ไม่สามารถที่จะทำได้
                            3.  คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่รวมของความรู้  โครงสร้างของคณิตศาสตร์บางทีก็คล้ายกับโครงสร้างของปรัชญา  และศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสนา เพราะเป็นโครงสร้างที่มีเหตุผล ซึ่งเริ่มต้นด้วยอนิยาม  จุด เส้น ระนาบในเชิงเรขาคณิต  ซึ่งจะอธิบายข้อคิดต่าง ๆ ที่สำคัญ  เราจะเห็นว่าในวิชาเรขาคณิตก็มีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นจริงแล้ว  สัจพจน์  คุณสมบัติ กฎ  ซึ่งทำให้เกิดความคิด
ที่จะเป็นรากฐานในการที่จะพิสูจน์เรื่องอื่นต่อไป
                           4.  คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแบบแผน  ที่ว่ามีแบบแผนนั้น  หมายความว่าจะต้องคิดอยู่ในแบบแผน หรือความคิดที่ตั้งไว้  เช่น คลื่นวิทยุ  โครงสร้างของโมเลกุล ฯลฯ  เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีแบบแผนของมัน ที่จะจำแนกได้ในทางคณิตศาสตร์
                            5.  คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเหมือนกับศิลปะแขนงอื่น ๆ ความงามของคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความมีระเบียบ และความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน  นักคณิตศาสตร์พยายามแสดงออกถึงค่าสูงสุด  ของความคิดและความสัมพันธ์  การสำรวจความคิดใหม่ ๆ ทางคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งท้าทายให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/294221
        วิชาคณิตศาสตร์มีความสำคัญและมีบทบาทต่อบุคคลมาก คณิตศาสตร์ช่วยฝึกให้คนมีความคิดรอบคอบ มีเหตุผล รู้จักหาความจริงมีคุณธรรมเช่นนี้อยู่ในใจ เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าความเจริญในด้านวิทยาการใด ๆ นอกจากนี้เมื่อเด็กคิดเป็นและเคยชินต่อการแก้ปัญหาตามวัยไปทุกระยะแล้ว เมื่อเป็นผู้ใหญ่ย่อมสามารถแก้ปัญหาชีวิตได้ คณิตศาสตร์ยังเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์และเป็นวิชาหลัก ฝึกในเรื่องการสังเกต และเป็นกุญแจนำไปสู่วิชาการใหม่ ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางศิลปศาสตร์ ดนตรี นาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ หรือด้านวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ


ทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่
    1. ทักษะการสังเกต(Observation) คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของ
    2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying) คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม
    3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing) คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง 
   4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering) คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
   5. ทักษะการวัด(Measurement)เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่)
   6. ทักษะการนับ(Counting)แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน
   7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size) เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ อยู่เสมอในแต่ละวัน

ประโยชน์ของคณิตศาสตร์

   1. คณิตศาสตร์มีความสำคัญในชีวิตประจำวัน เช่น การดูเวลา การซื้อขาย การชั่ง การตวง การวัดระยะทาง การติดต่อสื่อสาร การกำหนดรายรับรายจ่ายในครอบครัวหรือแม้แต่การเล่นกีฬา
   2.  ประโยชน์ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น อาชีพนักอุตสาหกรรมนักธุรกิจ ต้องใช้ความรู้และหลักการทางคณิตศาสตร์ช่วยคิดคำนวณผลผลิต การกำหนดราคาขาย นอกจากนั้นอาชีพรับราชการก็จำเป็นต้องใช้คณิตศาสตร์ช่วยในการวางแผนการ ปฏิบัติงานอีกด้วย
   3. คณิตศาสตร์ช่วยปลูกฝังอบรมให้เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ นิสัยทัศนคติ และความสามารถทางสมองบางประการ

   ทักษะที่ได้รับ
-ได้การกล้าแสดงออก ออกไปรายงานหน้าชั้นเรียน
-การระดบความคิดกันเป็นกลุ่ม
-ได้ความรู้เกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ของคณิตศาสตร์

    วิธีการสอน  

-แบ่งกลุ่มและช่วยกันระดบความคิดของแต่ละกลุ่มและแต่ละหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย
-ให้นักศึกษาออกไปรายงานหน้าชั้นเรียนเพื่อให้เพื่อนกลุ่มอื่นเข้าใจเรื่องนั้นๆมากขึ้น

   การประยุกต์ใช้

-สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในวันนี้ นำไปเป็นพื้นฐานให้ตนเองและสามารถนำไปประยุกต์กับเด็กปฐมวัยได้

   บรรยากาศในการเรียน

 -เพื่อนๆมาเรียนกันพร้อมมากขึ้นค่ะ แอร์เย็นมาก

   ประเมินผลอาจารย์ผู้สอน

-อาจารย์เป็นคนตรงต่อเวลา
-อาจารย์เสียงดังฟังชัด
-อาจารย์ใช้วิธีการสอนได้ดีค่ะ โดยการทำเป็นกลุ่มช่วยกันคิด
    1.  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด  เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไม่  หรือเกือบจะเป็นจริง  ด้วยวิธีการคิดจะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์  อุตสาหกรรมและอื่น ๆ คณิตศาสตร์ทำให้คนที่รักวิชานี้ กลายเป็นคนอยากรู้อยากเห็น
                            2.  คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม  สัญลักษณ์ที่รัดกุม  สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด  เช่น  อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด  สมการ  3+5  =  8 ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน  คือใช้แทนความคิด เรา ไม่ต้องคิดมากว่าจะอ่านอย่างไร พอเห็นเราก็ทราบ ยิ่งไปกว่านั้น  เราใช้อักษรแสดงความหมายแทนความคิดนี้ (ideograms)  เป็นเครื่องมือที่จะใช้ฝึกทางสมอง ซึ่งสามารถช่วยเราให้เกิดการกระทำในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา การพิสูจน์ที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งถ้าเราใช้ภาษาธรรมดาก็ไม่สามารถที่จะทำได้
                            3.  คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่รวมของความรู้  โครงสร้างของคณิตศาสตร์บางทีก็คล้ายกับโครงสร้างของปรัชญา  และศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสนา เพราะเป็นโครงสร้างที่มีเหตุผล ซึ่งเริ่มต้นด้วยอนิยาม  จุด เส้น ระนาบในเชิงเรขาคณิต  ซึ่งจะอธิบายข้อคิดต่าง ๆ ที่สำคัญ  เราจะเห็นว่าในวิชาเรขาคณิตก็มีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นจริงแล้ว  สัจพจน์  คุณสมบัติ กฎ  ซึ่งทำให้เกิดความคิด
ที่จะเป็นรากฐานในการที่จะพิสูจน์เรื่องอื่นต่อไป
                           4.  คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแบบแผน  ที่ว่ามีแบบแผนนั้น  หมายความว่าจะต้องคิดอยู่ในแบบแผน หรือความคิดที่ตั้งไว้  เช่น คลื่นวิทยุ  โครงสร้างของโมเลกุล ฯลฯ  เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีแบบแผนของมัน ที่จะจำแนกได้ในทางคณิตศาสตร์
                            5.  คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเหมือนกับศิลปะแขนงอื่น ๆ ความงามของคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความมีระเบียบ และความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน  นักคณิตศาสตร์พยายามแสดงออกถึงค่าสูงสุด  ของความคิดและความสัมพันธ์  การสำรวจความคิดใหม่ ๆ ทางคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งท้าทายให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/294221
  1.  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด  เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไม่  หรือเกือบจะเป็นจริง  ด้วยวิธีการคิดจะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์  อุตสาหกรรมและอื่น ๆ คณิตศาสตร์ทำให้คนที่รักวิชานี้ กลายเป็นคนอยากรู้อยากเห็น
                            2.  คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม  สัญลักษณ์ที่รัดกุม  สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด  เช่น  อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด  สมการ  3+5  =  8 ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน  คือใช้แทนความคิด เรา ไม่ต้องคิดมากว่าจะอ่านอย่างไร พอเห็นเราก็ทราบ ยิ่งไปกว่านั้น  เราใช้อักษรแสดงความหมายแทนความคิดนี้ (ideograms)  เป็นเครื่องมือที่จะใช้ฝึกทางสมอง ซึ่งสามารถช่วยเราให้เกิดการกระทำในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา การพิสูจน์ที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งถ้าเราใช้ภาษาธรรมดาก็ไม่สามารถที่จะทำได้
                            3.  คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่รวมของความรู้  โครงสร้างของคณิตศาสตร์บางทีก็คล้ายกับโครงสร้างของปรัชญา  และศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสนา เพราะเป็นโครงสร้างที่มีเหตุผล ซึ่งเริ่มต้นด้วยอนิยาม  จุด เส้น ระนาบในเชิงเรขาคณิต  ซึ่งจะอธิบายข้อคิดต่าง ๆ ที่สำคัญ  เราจะเห็นว่าในวิชาเรขาคณิตก็มีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นจริงแล้ว  สัจพจน์  คุณสมบัติ กฎ  ซึ่งทำให้เกิดความคิด
ที่จะเป็นรากฐานในการที่จะพิสูจน์เรื่องอื่นต่อไป
                           4.  คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแบบแผน  ที่ว่ามีแบบแผนนั้น  หมายความว่าจะต้องคิดอยู่ในแบบแผน หรือความคิดที่ตั้งไว้  เช่น คลื่นวิทยุ  โครงสร้างของโมเลกุล ฯลฯ  เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีแบบแผนของมัน ที่จะจำแนกได้ในทางคณิตศาสตร์
                            5.  คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเหมือนกับศิลปะแขนงอื่น ๆ ความงามของคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความมีระเบียบ และความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน  นักคณิตศาสตร์พยายามแสดงออกถึงค่าสูงสุด  ของความคิดและความสัมพันธ์  การสำรวจความคิดใหม่ ๆ ทางคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งท้าทายให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/294221
  1.  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด  เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไม่  หรือเกือบจะเป็นจริง  ด้วยวิธีการคิดจะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์  อุตสาหกรรมและอื่น ๆ คณิตศาสตร์ทำให้คนที่รักวิชานี้ กลายเป็นคนอยากรู้อยากเห็น
                            2.  คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม  สัญลักษณ์ที่รัดกุม  สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด  เช่น  อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด  สมการ  3+5  =  8 ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน  คือใช้แทนความคิด เรา ไม่ต้องคิดมากว่าจะอ่านอย่างไร พอเห็นเราก็ทราบ ยิ่งไปกว่านั้น  เราใช้อักษรแสดงความหมายแทนความคิดนี้ (ideograms)  เป็นเครื่องมือที่จะใช้ฝึกทางสมอง ซึ่งสามารถช่วยเราให้เกิดการกระทำในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา การพิสูจน์ที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งถ้าเราใช้ภาษาธรรมดาก็ไม่สามารถที่จะทำได้
                            3.  คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่รวมของความรู้  โครงสร้างของคณิตศาสตร์บางทีก็คล้ายกับโครงสร้างของปรัชญา  และศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสนา เพราะเป็นโครงสร้างที่มีเหตุผล ซึ่งเริ่มต้นด้วยอนิยาม  จุด เส้น ระนาบในเชิงเรขาคณิต  ซึ่งจะอธิบายข้อคิดต่าง ๆ ที่สำคัญ  เราจะเห็นว่าในวิชาเรขาคณิตก็มีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นจริงแล้ว  สัจพจน์  คุณสมบัติ กฎ  ซึ่งทำให้เกิดความคิด
ที่จะเป็นรากฐานในการที่จะพิสูจน์เรื่องอื่นต่อไป
                           4.  คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแบบแผน  ที่ว่ามีแบบแผนนั้น  หมายความว่าจะต้องคิดอยู่ในแบบแผน หรือความคิดที่ตั้งไว้  เช่น คลื่นวิทยุ  โครงสร้างของโมเลกุล ฯลฯ  เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีแบบแผนของมัน ที่จะจำแนกได้ในทางคณิตศาสตร์
                            5.  คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเหมือนกับศิลปะแขนงอื่น ๆ ความงามของคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความมีระเบียบ และความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน  นักคณิตศาสตร์พยายามแสดงออกถึงค่าสูงสุด  ของความคิดและความสัมพันธ์  การสำรวจความคิดใหม่ ๆ ทางคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งท้าทายให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/294221