วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่6 วัน พุธ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558

เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมสถานที่ท่องเที่ยวในวันวาเลนไทน์

  •      ผลจากการทำกิจกรรมจะทำให้เด็กเรียนรู้ในเรื่อง 1.จำนวน 2.การนับ ได้เทคนิคการสอนเด็กไม่่วาจะสอนอะไรสามารถนำคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องได้ เป็นการสอนในเชิงปฏิบัติ
ทดสอบก่อนเรียน
  •  เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์มีอะไรบ้างและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง
เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • นิทาน
  • เพลง
  • เกม
  • คำคล้องจอง
  • ปริศนาคำทาย
  • บทบาทสมมุติ
  • แผนภูมิ
  • ประกอบอาหาร
เพื่อนนำเสนอวิจัย
  • เลขที่ 13 การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  •      การสร้างหนังสือภาพ ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนาน,ได้รับประสบการณ์ตรง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
  •      ผลการวิจัย ทำให้เกิดผลการเรียนที่ดีมากขึ้น จากคะแนนเฉลี่ยที่ตั้งไว้ 60%
  • เลขที่ 14 การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการการละเล่นพื้นบ้าน
  •      การเล่นคำทาย,การเป่ากบ,กาฟักไข่,รีรีข้าวสาร เป็นต้น
  • ฝึกให้เด็กรู้จักการนับ การคิด รู้จักการรอคอย มีไหว คิดอย่างเป็นระบบ

ร้องเพลงนับนิ้วมือ
   
นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายก็มีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ 1 2 3 4 5 นับต่อมา 6 7 8 9 10
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับ 1 ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ

แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
  • แบ่งกลุ่มตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม จำนวน 3 สี สีละ 10 อัน
  • ให้นักศึกษาต่อเป็นรูปภาพโดยเริ่มจากสี่เหลี่ยม 1 รูป ไปจนถึงสี่เหลี่ยม 5 รูป

วิธีการสอน
  • มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียน
  • มีการทบวนความรู้เดิมที่เรียนในสัปดาห์ที่แล้ว
  • ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการสอน
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ระดมความคิดตอบคำถาม
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับประสบการณ์ตรงจากกิจกรรมที่เราได้ทำ
  • ได้รับทักษะทางสังคมจากการทำงานเป็นกลุ่ม
  • ได้รับทักษะในการคิดและตอบคำถาม
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให็กับเด็กในเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยวิธีการที่หลากหลาย
บรรยากาศในการสอน
  • โดยรวมเพื่อนมีความตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี
  • เพื่อนบางคนไม่มีความพร้อมในการเรียน
  • อุณหภูมิให้ห้องเย็นจนเกินไป ทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำก่อนเค้าเรียนทุกคาบ สอนนักศึกษาโดยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริง
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และ ตอบคำถาม
*เนื่องจากสัปดาห์นี้ป่วยจึงไม่ได้มาเรียนค่ะ

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่5 วัน พุธ ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558

เนื้อหาการเรียน
  -ให้นักศึกษานำป้ายชื่อที่ทำไว้สัปดาห์ที่แล้วมาติดบนกระดานช่องนักเรียนที่มาและไม่มาโรงเรียน และเทคนิคในการสอนเด็กในด้านการบวกลบเลข  เพราะคณิตศาสตร์จะเรียนรู้ได้ในชีวิตประจำวัน               การสอนแแบนี้เรียกว่าการสอนแบบ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
  
แบบทดสอบก่อนเรียน
 -มาตรฐานคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร
 -สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
 -สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั่นเรียนทำได้อย่างไรบ้าง

เพื่อนนำเสนอบทความ
 -เลขที่ 10เรื่องแม็ดเมติดของเด็กวัยซน

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
-รู้ในสิ่งที่เป็นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
-1.จำนวนและการดำเนินการ
 2.การวัด
 3.เรขาคณิต
 4.พีชคณืต
 5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
-มีทักษะ
-มีความรู้

1.ทีความคิดเชิงคณิตศาสตร์(Mathematical Thinking)
-จำนวนนับ
-เข้าใจหลักการนับ

2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาวน้ำหนักปริมาณเงินและเวลา
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
-รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา

3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ

4.ความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี่ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
-เช่น ต่ำ ต่่ำ สูง ต่ำ ต่ำ สูง ........................

5.มีส่วนร่ามในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรุปแบบแผนภูมิ

6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

สาระมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
1.จำนวนและการดำเนินการ
-มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลาย
-จำนวน
    -การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม
   -ความหมายของรวม การแยก

2.การวัด
-มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานการวัด
-ความยาว น้ำหนักและปริมาณ
-เงิน
-เวลา

3.เรขาคณิต
-มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทาง ระยะทาง
-มาตรฐาน ค.ป.3.2 รูปจักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตมราเกิดจากการจัดกระทำ

4.พีชคณิต
-มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจความสัมพันธ์ของแบดเทิน 
-แบบรูปและความสัมพันธ์

5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-การเก็บข้อมูล

6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
-การแก้ปัญหา  การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ การนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ

นอกจากนี้ยังสอนร้องเพลงประกอบกับท่าทาง

เพลง  จัดแถว
สองมือเราชูตรง
แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า
แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง  ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง
ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน
หันตัวไปทางนั้นแหละ

ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการนำเสนอบทความ
-ทักษะการคิดท่าทางประกอบเพลง
-ทักษะการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้เรื่องในชีวิตประจำวัน

วิธีการสอน
-ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อวัดความรู้ก่อนเข้าเรียน
-นำเพลงมาสอดแทรกกับเรื่องที่กำลังเรียน
-เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด

การประยุกต์ใช้
-นำการสอนที่ใช้ในชีวิตประจำวันไปสอนเด็กได้
-นำเพลงไปร้องให้เด็กฟังได้

บรรยากาศในการเรียน
-แอร์เย็น
-ห้องเรียนอบอุ่น
-เพื่อนๆให้ความร่วมมือมาก
-สนุกสนาน

ประเมินผลอาจารย์ผู้สอน
 -สอนสนุก
 -เสียงดัง ฟังชัด
 -ใช้เทคนิคหลายอย่างในการสอน



วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่4 วัน พุธ ที่ 28 มกราคม 2558

เนื้อหาการเรียน

-ให้นักศึกษาทำป้ายชื่อและนำไปแปะบนกระดานว่าใครมาก่อนแปดโมงเช้าและใครมาหลังแปดโมงเช้า โดยบอกทักษะในการสอนเด็กว่าต้องทำแบบไหน เช่น ขีดเส้นตรงและเขียนบนหัวเส้นว่า 8.00 และให้เด็กนำชื่อมาติดไว้หน้าเส้นและหลังเส้น

 ทดสอบก่อนเรียน
-ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางตณิตศาสตร์
-จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-หลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย

เพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครู
เลขที่ 7 เรื่องของเล่นและของใช้
เลขที่ 8 เรื่องผลไม้แสนสนุก
เลขที่ 9 เรื่องการบูรณาการสู่การพร้อมในการเรียน

โจทย์คืออะไร - คำถามคือโจทย์

-ทบทวนพัฒนาการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่นการรู้จักคำศัพท์
-พัฒนามโนภาพ เช่น การบวก การลบ
-เพื่อให้เด็กรู้จักฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐาน
1.การสังเกต (Observation)
 -ใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ในการเรียนรู้
2.การจำแนกประเภท (Classifying)
-การแบ่งประเภทสิ่งของโดยกาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่ง ขึ้น
3.การเปรียบเทียบ(Comparing)
-เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
4.การจัดลำดับ(Ordering)
-เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
5.การวัด(Measverment)
-มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
6.การนับ(Counting)
-การนับแบบท่องจำนี้จะสามารถเอาไปเชื่อมโยงกับจุดประสงค์อื่นได้
7.รูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
-เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน

คำศัพท์เกียวกับคณิตศาสตร์
ตัวเลข-น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
อุณหภูมิ-เย็น ร้อน อุ่น เดือด
ความเร็ว-เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน

สอนร้องเพลงคิดท่าทางประกอบเพลงสวัสดียามเช้า  เพลงหนุ่งปีมีสิปสองเดือน  เพลงเข้าแถว  พร้อมบอกเทคนิคการร้องเพลงให้กับเด็ก

ทักษะที่ได้รับ
-การนำเหตุการณในชีวิตประจำวันมาเป็นตัวเลขเพื่อสอดคล้องกับคณิตศาสตร์
-เทคนิคการร้องเพลง

วิธีการสอน
-ให้เพื่อนออกไปเขียนเลขบนกระดานและให้เพื่อนท้ายว่าเลขที่เพื่อนเขียนตรงกับอะไร
-ทำแบบทกสอบก่อนเรียนเพื่อดูความรู้ของนักศึกษาก่อนเข้าเรียน
-สอนร้องเพลงพร้อมคิดท่าทางประกอบเพลง ที่สอดคล้องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ประยุกต์ใช้
-สามารถนำเพลงไปใช้กับเด็กพร้องท่าทางประกอบได้
-นำกิจกรรมในห้องเรียนไป ใช้กับเด็กได้ เช่นกิจกรรม ทำป้ายชื่อและให้เด็กไปแปะชื่อบนกระดานว่าใครมาก่อนหรือหลังแปดโมงเช้า

บรรยากาศในห้องเรียน
-สนุก
-ง่วงเล็กน้อย
-เพื่อนๆให้ความร่วมมือดีมาก

ประเมินผลอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์หาเทคนิคมาสอนได้ดี
-สนุก
-อาจารย์เต็มที่กับการสอนมาก
                                                   

สรุปโทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครูเรื่องไข่ดีมีประโยชน์

สรุปโทรทัศน์ครู เรื่องไข่ดีมีประโยชน์
    โดย คุณครูรจนา สังวรสินธุ์ รร.วัดไทรใหญ่ (นนททิวากรราษฎร์บำรุง)
           เป็นการจัดกิจกรรมบูรณาการทักษะวิชาพื้นฐานต่างๆเข้าด้วยกันได้ดี ตั้งแต่ฝึกให้เด็กได้พัฒนาการทางภาษาจากการสนทนาซักถามและการเล่านิทาน ต่อมาคุณครูได้เสริมทักษะวิทยาศาสตร์โดยให้เด็กได้สังเกต ไข่ที่มีสีและขนาดต่างๆกันและคุณครูยังส่งเสริมกระบวนการคิดโดยให้เด็กดูรูปภาพแล้วให้เด็กตอบเพื่อทบทวนความรู้เดิมที่เด็กมี เด็กที่เรียนในกิจกรรมนี้ได้มีทักษะคณิตศาสตร์ในการนับจำนวน สังเกต จำแนกความเหมือนความแตกต่าง และได้เปรียบเทียบขนาดและรู้จักว่าไข่ในตะกร้าใบไหนมาก ไข่ในตะกร้าใบไหนมีจำนวนน้อย และขณะเด็กร่วมทำกิจกรรมคุณครูยังส่งเสริมเด็กด้วยการให้คำชมเชยและชวนให้เด็กปรบมือให้กับเด็กที่ออกมาแยกไข่ใส่ตะกร้า การสอนแแบบนี้เป็นการสอนที่ส่งเสริมความกล้าแสดงออกและเพิ่มความมั่นใจให้กับเด็ก เด็กจะเกิดความกล้าในการเข้าร่วมกิจกรรม กล้าคิด กล้าพูด กล้าตอบ โดยไม่รู้สึกเขินอาย และการสอนของคุณครูยังทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเช่นในการชิมรสชาติของไข่เค็ม เด็กได้เห็นลักษณะของไข่เยี่ยวม้า และไข่เค็มที่คุณครูผ่าให้เด็กดู เด็กได้ลงมือตอกไข่และทำไข่หวานด้วยตัวเองทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งเด็กอาจจะไม่เคยได้ทำมาก่อนจากที่บ้าน เด็กก็จะเกิดความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเองและอาจเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับในการร่วมกิจกรรมนี้ไปสู่ที่บ้านได้ไม่ยาก

การนำไปประยุกย์ใช้
       สามารถนำการสอนแบบนี้ไปใช้กับเด็กได้โดย ให้เด็กเห็นภาพจริงและได้ลงมือกระทำ ได้เห็นลักษณะ ได้รู้จักนับจำนวน