วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่10 วัน พุธ ที่ 25 มีนาคม 2558

เนื้อหาที่เรียน

 -ทำกิจกรรมไม้กับดินน้ำมัน ให้ต่อไม้แล้วนำดินน้ำมันมาเชื่อมให้เป็นรูปทรงต่างๆเช่น
       1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
       2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
       3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ เช่นบ้าน
       4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสามเหลี่ยม
       5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสี่เหลี่ยม
       6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรง

-นำเสนอ เก็บตก  เลขที่ที่ยังไม่ได้นำเสนออกมานำเสนอ เพื่อนรายงานรูปแบบการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย

-นำเสนอสื่อการเรียนรู้
       นิทาน คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ตามสาระคณิตศาสตร์ที่ได้รับมอบหมาย

วิธีการสอน

  • มีการทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

ทักษะที่ได้รับ

  • ได้ทักฝาะการนำสื่อมาใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอน 
  • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำสื่อต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอนของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน

  • เพื่อนๆให้ความร่วมมือกันดีมากค่ะ
  • แอร์หนาวเย็น

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนหลากหลาย
  • เข้าสอนตรงเวลา

การบันทึกอนุทินครั้งที่9 วัน พุธ ที่ 18 มีนาคม 2558

เนื้อหา
       
           - นำเสนอวิจัย

                   เลขที่ 22

           - นำเสนอบทความ
                   เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
                   เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "
       
          - นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
                   เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
                   เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ

** หมายเหตุ** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวับ



วิธีการสอน-  ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-  เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
-  ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย



ทักษะ
-  ทักษะในการคิดวิเคราะห์
-  ทักษะในการพูดนำเสนองาน
-  ทักษะในการตอบคำถาม



การนำไปประยุกต์ใช้
            นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย


บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน บรรยากาศในห้องค่อนข้างเงียบ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน นำเสนองานติดขัดบ้าง ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง



ประเมินเพื่อน 
        เพื่อนมาเรียนน้อย บรรยากาศในการเรียนการสอนจึงเป็นไปด้วยความเงียบ ส่วนเพื่อนที่มาเรียนก็ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี



ประเมินอาจารย์
          มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดเสริมแรงให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ
 
*เนื่องจากวันนี้ไปทำกิจกรรมกีฬาสีมหาวิทยาลัย เป็ยเชียร์หลีดเดอร์ของคณะศึกษาศาสตร์ จึงไม่ได้มาเรียนค่ะ

การบันทึกอนุทินครั้งที่8 วัน พุธ ที่ 11 มีนาคม 2558


เนื้อหาที่เรียน


เพื่อนนำเสนอบทความ

  • เลขทึ่ 21 การสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว

ทบทวนความรู้สาระและมาตรฐานในการเรียนรู้

  • สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  • สาระที่ 2 การวัด
  • สาระที่ 3 เรขาคณิต
  • สาระที่ 4 พีชคณิต
  • สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

  • จุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาความรู้
  • ความสำคัญ
  • วิธีการจัดการเรียนการสอน จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
         1.วางแผนและเริ่มโครงการ
         2.พัฒนาโครงการ
         3.สรุปและอภิปรายโครงการ
  • ลักษณะรูปแบบการสอนโครงการ
         1.อภิปราย
         2.นำเสนอประสบการณ์เดิม
         3.การทำงานภาคสนาม
         4.การสืบค้น และตั้งคำถาม
         5.การจัดแสดงนิทรรศการ

ฝึกร้องเพลง และแปลงเนื้อเพลง


เพลงบวก-ลบ

บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ   ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ


แปลงเนื้อเพลง

บ้านฉันมีแก้วน้ำสามใบ  พี่ให้อีกห้าใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้แปดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำแปดใบ  หายไปห้าใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สามใบ


เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา  ม้ามีสี่ขา
คนเรานัั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ช้างม้ามี  สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)


แปลงเนื้อเพลง

ความยมีสี่ขา  กวางมีสี่ขา
เจ้านกนัั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ความกวางมี  สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับนกนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)


เพลงขวดห้าใบ

ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวด 1 ใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง


เพลงจับปู

จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6  7  8  9  10      
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ



วิธีการสอน

  • ทบทวนความรู้เดิม
  • มีการทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

ทักษะที่ได้รับ

  • ได้ทักษะการร้องเพลง แปลงเพลง ได้รู้เพลงใหม่ๆ มากขึ้น
  • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้จากการแปลงเพลงไปใช้ในการสอน ให้เหมาะกับเนื้อหาที่เด็กเรียน

บรรยากาศในห้องเรียน


  • เพื่อนๆ ไม่มีความพร้อมในการเรียน
  • อุปกรณ์ สื่อคอมพิวเตอร์ไม่ค่อยดี
  • แอร์หนาวเย็น

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนหลากหลาย
  • เข้าสอนตรงเวลา
*เนื่องจากสัปดาห์นี้ ป่วย จึงไม่ได้มาเรียนค่ะ

การบันทึกอนุทินครั้งที่7 วัน พุธ ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558

เนื้อหาที่เรียน

-สอนเรื่องเวลา ให้นักเรียนออกไปเขียนชื่อ วาดรูปนาฬิกาตามเวลาที่นักเรียนมาโรงเรียน เพื่อสอนให้เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

-ทบทวนบทเพลง เข้าแถว สวัสดียามเช้า ซ้ายขวา จัดแถว หนึ่งปีมีสิบสองเดือน นกกระจิบ นับนิ้วมือ เป็นต้น

-ทดสอบก่อนเรียน
 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง

-เลขที่ 17 นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง ใช้ลูกเต๋าเป็นสื่อ

-ทบทวนสาระและมาตรฐานการเรียนรู้

-รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
    หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถโดยเชื่อมโยงเนื้อห่ สาระของศาสตร์ต่างๆ
    ความสำคัญ
1.ในชีวิตประจำวันสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ต่างๆผสมผสานกันทำให้ผู้ที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยวๆ มาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้
2.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการทำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนประสบการณ์
3.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อน
4.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถในหลายๆด้านช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ แบบพหุปัญญา
5.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียนที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน
การนำไปใช้ 
  เด็กต้องควรอยากรู้อะไร
  เด็กต้องควรอยากทำอะไร
สาระที่ควรรู้
เนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก บุลคล สถานที่ ธรรมชาติ สิ่งต่างๆ ประสบการณ์ทั้ง 4 ด้าน กายวาจาใจ สังคม อารมณ์ สติปัญญา

ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการนำเสนอบทความ
-ทักษะการคิดท่าทางประกอบเพลง
-ทักษะการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้เรื่องในชีวิตประจำวัน

วิธีการสอน
-ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อวัดความรู้ก่อนเข้าเรียน
-ทบทวนบทเรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อเตือนความจำของเด็ก
-เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด

การประยุกต์ใช้
-นำการสอนที่ใช้ในชีวิตประจำวันไปสอนเด็กได้
-นำเพลงไปร้องให้เด็กฟังได้

บรรยากาศในการเรียน
-แอร์เย็น
-ห้องเรียนอบอุ่น
-เพื่อนๆให้ความร่วมมือมาก
-สนุกสนาน

ประเมินผลอาจารย์ผู้สอน
 -สอนสนุก
 -เสียงดัง ฟังชัด
 -ใช้เทคนิคหลายอย่างในการสอน